มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ประเทศไทย มุ่งส่งเสริม “การเรียนรู้เชิงรุก” และ “ทักษะเชิงนวัตกรรม”
โดยเฉพาะทักษะเชิงนวัตกรรมทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วยความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การสื่อสาร และความร่วมมือ (อ้างอิงจาก P21, 2007; Council of Europe, 2017) การออกแบบสามารถเสริมสร้างทักษะเชิงนวัตกรรมได้ ดิษยา จูฑะศรี มีประสบการณ์ทำงานเป็นนักออกแบบในหลายบริษัทมานานกว่าสิบปี ก่อนจะมาทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2552 และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนานักศึกษา โดยในหลายปีที่ผ่านมาดิษยาได้พัฒนาวิธีการสอนและจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถสอดแทรก “แนวคิดการออกแบบ” และ “การลงมือปฏิบัติ” เข้าไว้ด้วยกัน และได้จัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ในวิชาต่างๆ ได้แก่ วิชาชีวิตสมัยใหม่กับแอนนิเมชัน (ห้องเรียนนักศึกษานานาชาติ) วิชาการตลาดเพื่อการออกแบบ วิชาภาพยนตร์ดิจิทัลเชิงพาณิชย์ วิชาพื้นฐานการออกแบบศิลปะดิจิทัล นอกจากนี้ยังได้จัดทำเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อแสดงผลงานที่โดดเด่นจากนักศึกษาที่ลงเรียนในวิชาดังกล่าว โดยได้รับคำยินยอมจากนักศึกษาแล้ว การที่นักศึกษาได้เห็นผลงานตัวอย่างนั้นทำให้นักศึกษามีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับโจทย์โครงงานและผลลัพธ์ อีกทั้งยังช่วยสร้างทัศนคติ “เราทำได้” ให้เกิดขึ้นอีกด้วย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิษยา ได้ที่เพจใน Academia.edu
Council of Europe. (2017) Common European Framework of Reference for Languages: Learning, Teaching, Assessment – Companion Volume with New Descriptors. Available at: https://rm.coe.int/common-european-framework-of-reference-for-languages-learning-teaching/168074a4e2
P21. (2007) Partnership for 21st Century Learning. Available at: http://www.p21.org/
กิติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี (CAMT)
- วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล (ICDI)